หลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า โลกธุรกิจสมัยนี้ไม่ใช่ปลาใหญ่กินปลาเล็กแล้ว 

แต่เป็น “ปลาเร็ว...กินปลาช้า” ส่วนตัวก็เห็นด้วย “เกือบ” ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SMEs เรื่องของ “ความเร็ว” คือกลยุทธ์อันทรงพลัง

ที่บอกว่าเห็นด้วย “เกือบ”ทั้งหมด เพราะความเร็วที่ว่าไม่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตได้แน่ๆ เพราะ “ความเร็ว”มันคือ “ผล”...ไม่ใช่ “เหตุ” เราจำเป็นต้องทำอะไรบางอย่างมาก่อน ถึงจะได้ความเร็วที่ว่า

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมบรรดา Start Up ที่เกิดขึ้นมากมาย แต่เหลือรอดมาน้อยเต็มที เพราะเน้นแต่ความเร็วเพื่อที่จะ Scale Up นั่นคือเอาผลลัพธ์ คือ “ความเร็ว” มาเป็นตัวตั้ง โดยที่ลืมนึกถึงที่มาที่ไปของมัน

อยากจะยกตัวอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องบริษัทฯ Tesla ตอนปี 2019 ที่ประสบปัญหาอย่างหนักในการส่งมอบรถเพราะผลิตไม่ทัน แบบว่าขายดีสุดๆ รับใบจองมาแล้วแต่ไม่มีรถ ส่งผลให้เกิดสภาพคล่องทางการเงินอย่างหนัก เล่นซะ Tesla เกือบเจ๊ง

“ไอรอนแมน”...หรือนายอีลอน มัสก์ เลยต้องผ่าทางตันต้องย้ายฐานการผลิตใหม่ แต่เดิมรถที่จะขายที่เมืองจีนต้องนำเข้า ตอนนี้ย้ายไปเมืองจีนซะสิ้นเรื่องสิ้นราวไป โดยเล็งไปที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ใครจะไปเชื่อรถไฮเทคแบบนี้ กลับต้องมาผลิตที่เมืองจีน จนเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ “Shanghai Speed”

ที่เซี่ยงไฮ้ Tesla เร่ิมต้นสร้างโรงงานจากทุ่งนาว่างๆห่างจากตัวเมืองไป 90 นาที เขาใช้เวลาเพียง 10 เดือนในการก่อสร้าง ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ถ้าจะสร้างโรงงานใหม่ที่สหรัฐฯต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี กำลังการผลิตในช่วงเร่ิมต้น จะสามารถประกอบรถได้ ชั่วโมงละ 28 คัน เฉลี่ยทุกสองนาทีกว่าๆ ผลิตรถได้คันหนึ่ง ช้ากว่ารอมาม่าให้เส้นพองพร้อมกินนิดนึง และในปี2020 ตั้งเป้าผลิตเบาะๆแค่ 150,000 คัน แต่มีแผนขยายให้ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 500,000 คัน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด “Shenghai Speed”...

  1. ความพร้อมเรื่อง Supply Chain ของเมืองจีน แต่เดิมส่วนประกอบหลักๆก็ผลิตจากเมืองจีนอยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องความพร้อมของวัตถุดิบจึงไม่มีปัญหา

2. จำนวนและทักษะของแรงงาน เรื่องของ“จำนวน”เป็นข้อได้เปรียบดั้งเดิมอยู่แล้ว แต่เรื่องทักษะ พอทำไปนานวันเข้า เดี๋ยวก็พัฒนาขึ้นเอง

3.การสนับสนุนอย่างเต็มที่ของรัฐบาลจีน ข้อนี้ผมว่าเด็ดสุดๆครับ รัฐบาลจีนให้ข้อเสนอเด็ดกับ Tesla คือทุกๆคันที่ผลิต รัฐบาลจีนจะมีออกเงินช่วยเหลือ ให้คันละ 24,750 หยวนตกคันละแสนกว่าบาท เพื่อกดราคาขายให้ต่ำลง

แต่เดิมตอนนำเข้าราคาขาย Tesla Model 3 ราคาคันละ 400,000 หยวน พอผลิตที่เซี่ยงไฮ้ เหลือแค่ 300,000 หยวน ก็พอๆกับรถยุโรปทั่วๆไปที่ขายในเมืองจีน ผลิตจนพอขาย แถมราคาก็ถูกลง

แต่ทั้งนี้ Tesla ต้องแลกกับข้อเสนอของรัฐบาล ที่ว่าต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในจีนมากขึ้นๆในแต่ละปีจนถึงทั้งคัน ต้องใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศทั้งหมด100% ขาดทุนวันนี้เพื่อกำไรในวันข้างหน้า!!!

แถมท้ายต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และทีมผู้บริหารและผู้จัดการโรงงาน ต้องเป็นคนจีนอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ถ้ารถไฟฟ้า EV จากเมืองจีนจะครองตลาดทั่วโลกในไม่ช้า

ผมลองถอดองค์ประกอบของ “Shenghai Speed” เพื่อเป็นแนวคิดสำหรับ SMEs ไทย ในการใช้ “ความเร็ว” มาเป็นกลยุทธ์ ได้ดังนี้

“Speed” คือผลลัพธ์...ที่เกิดมาจากสาเหตุหลักๆคือ

  1. ความพร้อมของทรัพยากร ทั้งเงินและเวลา

ซึ่งไม่ได้หมายความว่า SMEs จะทำไม่ได้นะครับ แต่เราจำเป็นต้องเจียดงบประมาณส่วนหนึ่ง หรือต้องดึงหรือแบ่งเวลาของทีมงาน ออกจากงานประจำที่เขาต้องรับผิดชอบ เพื่อให้โครงการหรือแนวคิดนั้นเกิดให้ได้

2.ทักษะของทีมงาน

จากประสบการณ์ที่ผมเคยใช้กลยุทธ์นี้กับธุรกิจ SMEs ไทย ในช่วงแรกผู้ประกอบการมีความกังวลว่า ต้องรอฝึกให้เขามีทักษะในเรื่องใหม่ๆนี้ก่อน ถึงกล้าจะให้ทำโครงการใหม่ๆแต่ในความเชื่อผม ให้ลองผิดลองถูกไปก่อนเลยครับ 

ผมเชื่อในพลังของการ Learning by doing การเรียนรู้จากความผิดพลาด จะพัฒนาทักษะให้ทีมงานได้ดีที่สุดถ้าผู้ประกอบการ “กล้า” ที่จะยอมรับ หรือความผิดพลาดนั้น ไม่ส่งผลกระทบร้ายแรง จนควบคุมไม่ได้

3.การสนับสนุนของเจ้าของธุรกิจ...

ผมว่าข้อนี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพื่อให้เกิด “ความเร็ว” ในการทำส่ิงใหม่ๆ ถ้าตัวเจ้าของไม่กล้าที่จะออกจาก Comfort Zone เดิม เช่นคำพูดที่ว่า

“ทำสินค้าตัวเดิมๆนี่แหละ อย่าไปหาเรื่องออกสินค้าใหม่เลย เด๊่ยวก็เจ็งหรอก”...

ลงเป็นแบบนี้ก็อย่าไปคาดหวังให้ลูกน้องเขาจะกล้าเสนอไอเดียสินค้าใหม่เลยครับ

หลายครั้งที่ตัวเจ้าของธุรกิจเอง อยากจะขยายธุรกิจเร็วๆ แต่ตัวเองไม่กล้าหรือไม่สนับสนุน เพื่อก่อให้เกิด “ความเร็ว”นั้น ก็อย่าไปหวัง “ผลสำเร็จ” เลยครับ

สิ่งที่จะตามมาก็คือ ยิ่งถ้าคู่แข่งของคุณที่ตัวใหญ่กว่า แข็งแรงกว่า แต่คราวนี้เขาฟิตร่างกายให้ว่ายน้ำเร็วกว่าเดิม ทำให้ปลาเล็กบางตัว

แถมว่ายน้ำแบบ “ต๊ะต่อนยอน” ก็คงหายสาบสูญไปจากท้องทะเลครับ

บทความนี้ไม่มีลิขสิทธิ์สามารถเผยแพร่ได้ตามสะดวก

สามารถติดตามบทความย้อนหลังได้ที่ www.underdog.run

-บุ้ง ดีดติ่งหู-

Marketing&Sales Consultant

The Underdog Marketing

Line ID: wichawut_boong

Email: [email protected]

จุดประกายไอเดียทางการตลาดและการขาย

สมัครรับข่าวสาร

© สงวนลิขสิทธิ์ 2018-2024 Underdog Marketing
นโยบายความเป็นส่วนตัว
crossmenu

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า